เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีในปัจจุบันนี้ก็ต้องบอกเลยว่ามีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วมาก ๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการแสดงผลภาพ โดยหนึ่งในเทคโนโลยีที่สำคัญทางด้านนี้ก็คงหนีไม่พ้น โปรเจคเตอร์ ที่จะช่วยแสดงผลภาพตามที่ต้องการให้มีขนาดที่ใหญ่มากขึ้นได้ อย่างไรก็ตามในขณะนี้โปรเจคเตอร์ก็มีให้เลือกซื้อหลากหลายสเปคมาก ๆ สเปคโปรเจคเตอร์แต่ละเครื่องก็แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้หากว่าต้องการเลือกซื้อโปรเจคเตอร์สักเครื่องก็ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำศัพท์ที่ใช้อ่านสเปคเครื่องกันก่อน จะมีคำศัพท์อะไรบ้าง มาดูกัน
ทำความรู้จัก 9 คำศัพท์ที่ใช้ในการอ่านสเปคเครื่องโปรเจคเตอร์
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าก่อนการเลือกซื้อโปรเจคเตอร์ก็ควรที่จะมีความเข้าใจในเรื่องของคำศัพท์ที่ใช้อ่านสเปคเครื่องโปรเจคเตอร์กันก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการช่วยให้สามารถเลือกซื้อโปรเจคเตอร์มาใช้งานได้เหมาะสมต่อความต้องการและตรงกับจุดประสงค์ในการใช้งานมากที่สุด ซึ่งคำศัพท์พื้นฐานที่ควรรู้ในการอ่านสเปคโปรเจคเตอร์มีดังต่อไปนี้
1. ANSIlumens
ANSIlumens (แอนซี่ลูเมนส์) เป็นคำที่ช่วยบ่งบอกถึงเรื่องของหน่วยวัดค่าความสว่าง โดยหน่วยวัดนี้จะเป็นการวัดค่าตามมาตรฐาน ANSI ที่สามารถเชื่อถือได้ ทั้งนี้ยิ่งตัวเลขที่วัดได้มีค่าที่สูงก็จะยิ่งทำให้ความสว่างที่ได้นั้นสูงขึ้นตามไปด้วย และสามารถสู้แสงได้ดีมากขึ้น เช่น หากว่าต้องการนำเอาโปรเจคเตอร์ไปใช้สำหรับการฉายภาพลงสนามฟุตบอลหรือว่าผนัง ก็ควรใช้เครื่องที่มีค่าความสว่างอยู่ที่ 10,000 ANSI lumens ขึ้นไปจึงจะเพียงพอต่อการใช้งาน
2. Resolution
Resolution (เรสโซลูชั่น) สำหรับคำนี้จะหมายถึงจำนวนเส้นพิกเซลที่เกิดขึ้นต่อ 1 ภาพ หากว่าจำนวนเส้นยิ่งมีจำนวนมากเท่าไหร่ก็หมายความว่าความละเอียดของภาพก็จะมากขึ้นเท่านั้น ในปัจจุบันนี้โปรเจคเตอร์ก็จะมีความละเอียดของภาพอยู่หลัก ๆ ดังนี้
- ความละเอียดภาพ SVGA (800×600 pixels) VDO Format 4:3 (โปรเจคเตอร์ในปัจจุบันไม่มีการใช้งานความละเอียดนี้แล้ว)
- ความละเอียดภาพ XGA (1024×768 pixels) VDO Format 4:3
- ความละเอียดภาพ WXGA (1200 x 800 pixels) Format 16:10
- ความละเอียดภาพ Full HD (1200 x1080 pixels) Format 16:9
- ความละเอียดภาพ WUXGA (1920×1200 pixels) Format 16:10
- ความละเอียดภาพ 4K UHD (3840×2160 pixels) Format 16:9
3. Contrast Ratio
Contrast Ratio (คอนทราส เรโช) สิ่งนี้จะช่วยบอกในเรื่องของค่าอัตราส่วนตัดกันของสีขาวและดำ โดยหากว่ามีค่ามากเท่าไหร่ก็จะหมายถึงการที่มีสีดำที่เข้มมากขึ้นเท่านั้น และการไล่สีก็จะเนียนมากขึ้นตามค่าอัตราส่วนที่มากขึ้นด้วย
4. Throw Ratio
Throw ratio (โทรวเรโช) เป็นสิ่งที่จะช่วยบอกถึงเรื่องอัตราส่วนในการฉายภาพ โดยมาจากค่าที่มีชื่อเรียกว่า “ค่าอัตราระยะฉาย” สามารถคำนวนได้ง่ายๆ โดยการนำค่า Throw Ratio x กับความกว้างของหน้าจอที่ต้องการ จะได้เท่ากับระยะฉายที่ต้องเว้นระยะห่างออกมาจากหน้าจอ ยิ่งค่า Throw Ratio น้อย ยิ่งสามารถฉายได้ภาพใหญ่ขึ้นในระยะที่ใกล้กว่านั่นเอง
5.Keystone Correction
Keystone correction (คีสโตน คอร์เรคชั่น) สิ่งนี้จะสามารถบอกได้ถึงเรื่องของการปรับแก้คางหมูของภาพ ที่จะช่วยทำให้ภาพไม่เบี้ยวหากว่าต้องมีการก้ม หรือว่าเงยเครื่องมาก ๆ ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็มีโปรเจคเตอร์ที่สามารถทำการปรับได้ทั้งแบบแนวตั้ง แนวนอน และยังสามารถปรับได้ตามมุมที่ต้องการด้วย
6. Lens Shift
lens Shift (เลนส์ชิพ) เป็นสิ่งที่บอกถึงเรื่องของการปรับยกเลนส์ ที่จะสามารถขยับให้มีความสูงหรือว่าต่ำจากตำแหน่งจริงก็ได้ โดยสเปคเครื่องแบบนี้ก็มักจะใส่มาให้ในโปรเจคเตอร์รุ่นใหญ่ ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความสะดวกในการติดตั้งมากขึ้นนั่นเอง
7. Lamp Hour
Lamp Hour (แลมป์อาร์ว) สิ่งนี้จะสามารถบ่งบอกได้ถึงเรื่องของชั่วโมงหลอดภาพ โดยในปัจจุบันนี้ก็มีให้เลือกทั้งแบบที่เป็นโหมดประหยัดและแบบที่เป็นโหมดปกติ ซึ่งในการใช้งานก็ควรเลือกแบบที่ตรงกับการใช้งานและคิดว่าใช้บ่อยมากที่สุด
8. Screen Size
Screen size (สกรีนไซซ์) เป็นการบอกถึงเรื่องของขนาดจอภาพ โดยขนาดของจอภาพที่ฉายได้นั้นก็มักจะวัดได้ตามแนวทแยงมุม เช่น หากว่าสามารถวัดได้ที่ 30-300 นิ้ว ก็หมายถึงว่าระยะของภาพที่สามารถฉายได้จะอยู่ที่ประมาณ 0.7-7.2 เมตร หรืออธิบายง่าย ๆ เลยก็คือการที่สามารถฉายภาพขนาด 300 นิ้วได้ในระยะ 7.2 เมตรนั่นเอง
9. Input/Output Interface
input/Output interface (อินพุต/เอาท์พุตอินเทอร์เฟค) เป็นสิ่งที่สามารถบอกได้ถึงเรื่องของช่องการเชื่อมต่อสัญญาณเข้า และช่องเชื่อมต่อสัญญาณออก ซึ่งในการเลือกซื้อก็ควรเช็กให้ครบว่ามีช่องการเชื่อมต่อตามที่ต้องการใช้งานหรือเปล่า
สรุปบทความ
จากทั้งหมดที่กล่าวมานี้ก็เป็นคำศัพท์พื้นฐานที่ควรรู้เอาไว้ก่อนการเลือกซื้อโปรเจคเตอร์ เนื่องจากว่าเป็นคำศัพท์ที่จะช่วยให้เข้าใจและอ่านสเปคเครื่องโปรเจคเตอร์ได้นั่นเอง โดยสำหรับใครที่กำลังมองหาหรือว่าต้องการเลือกซื้อโปรเจคเตอร์อยู่ นอกจากที่จะต้องเข้าใจคำศัพท์เหล่านี้แล้วก็ควรเลือกซื้อกับขายโปรเจคเตอร์ที่ดีและมีความน่าเชื่อถือด้วย เพื่อที่จะช่วยให้ได้รับสินค้าที่ตรงตามความต้องการและมีคุณภาพนั่นเอง ซึ่ง Project PRO ก็เป็นหนึ่งในร้านที่อยากแนะนำให้ใช้บริการ